คำชี้แจงกิจกรรม ให้นิสิตทุกคน เตรียม Smartphone และเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เปิด Browser แล้วเข้า kahoot.it แล้วเข้ารอ รหัสเข้าเกมจากอาจารย์ (Game Pin) เมื่อต้องกรอกชื่อในเกม Kahoot.com ให้ใช้ รหัสคณะ รหัสนิสิตสามตัวท้าย และชื่อเล่น เช่น nu 001 boy mt 001 girl de 001 lady pu 001 jojo mba 002 siam แต่ถ้าส่งงานมอบหมายในกลุ่มสื่อสังคม ในอีเลินนิ่ง ในไซเบอร์ยู หรือส่งเอกสารรายงาน ให้ระบุ รหัสนิสิต ชื่อและสกุล ตามด้วยชื่องานที่ส่ง เช่น 6315010001 บุรินทร์ โยนก งานคลิ๊ปแนะนำเทคโนโลยี
การแสดงตัวตนกับสังคม เพื่อจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และใช้ชีวิตในสังคมอย่างปกติสุขร่วมกับผู้อื่น การแสดงตัวตนนั้นสามารถนำเสนอได้หลายรูปแบบ เช่น หน้าตา เสื้อผ้าหน้าผม บทบาท ครอบครัว งานหลัก งานอดิเรก หนัง เพลง ความชอบ ความเชื่อ สิ่งที่สำคัญ คือ การแสดงตนเพื่อเข้าสังคมใด ก็ต้องสอดรับกับจารีตประเพณีของสังคมนั้น
รวมข่าวภาษาอังกฤษ สรุปมาแบบสั้น ๆ เพียง 2 ย่อหน้า อ่านง่ายพร้อมแบบฝึกหัด เพื่อใช้สอนภาษาอังกฤษในหลักสูตร ESL แต่ละเรื่องนำมาเขียนข่าวให้ยากง่ายหลายระดับ ตั้งแต่ระดับ 0 ถึงระดับ 6 มีกว่า 2,919 บทเรียน (30 มิ.ย.63) เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ย.2004 (2557) ซึ่งผมสนใจข่าวด้านไอที เพื่อนำไปเล่าให้นักศึกษาในวิชาเทคโนโลยีเบื้องต้น จึงเลือกข่าว และแปลเป็นไทยไปเล่าให้นักศึกษาฟัง
ให้นิสิตฝึกจัดการเอกสารใน Smart Phone ที่มีการแชร์ในชั้นเรียน ทั้งที่ได้เอกสารจากผู้สอน หรือที่นิสิตค้นคว้าแล้วดาวน์โหลดด้วยตนเอง เพื่อสามารถเปิดอ่านแบบออฟไลน์ได้ในภายหลัง
ยุค New Normal นักเรียน นิสิต นักศึกษา ต้องเรียนหนังสือผ่านสมาร์ทโฟน หรือเครื่องคอมพิวเตอร์กันแล้ว การเขียนรายงาน แล้วส่งข้อมูลผ่าน Social Media สามารถทำได้ง่าย ยกตัวอย่างการเขียนคำว่า Hello World บน Smart phone ผ่านโปรแกรม Cloud Application ในรูปของ Word แล้ว Save as ไว้บน Cloud Storage จากนั้นก็แชร์ผลงาน (Share) แบบกำหนดเป็นสาธารณะ (Public) ให้เพื่อนและคุณครู เข้ามาตรวจประเมิน วิพากษ์ วิจารณ์ผลงานได้
เสนอให้คุณครูพิจารณาสอนการใช้ตารางคำนวณข้อมูล เช่น ข้อมูลนิสิต บทความ เงินเดือน โอที หรือภาษี ผ่าน Word / Excel / Slide นำเสนอ ก็ไม่ต่างจากการใช้ Editor ทั่วไป เพราะมี Cloud Application ที่เปิดบริการฟรี จึงชวนครูอาจารย์สั่งงานน้องนักเรียนนิสิต เพิ่มทักษะพัฒนาสมรรถนะดิจิทัล ซึ่งใช้งานได้ทั้งบัญชี gmail.com และ hotmail.com ซึ่งทำตัวอย่างแชร์ข้อความ Hello World ตามภาพประกอบ Google Drive : Hello World One Drive : Hello World
ปัจจุบันการมีโฮมเพจของ รพสต. คลีนิก โรงพยาบาล ศูนย์สุขภาพ โรงเรียน บริษัท สามารถทำได้ง่ายในไม่กี่ชั่วโมง แต่ต้องมีเรื่องราวที่จะบอกเล่า เช่น ประวัติความเป็นมา สินค้า บริการ บุคลากร เครื่องไม้เครื่องมือ บรรยากาศ การเดินทาง ความรู้เท่าทันตามสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น ข้อพึงปฏิบัติป้องกันโควิด-19 ปัจจุบันนักเรียนมัธยมต้นเริ่มเรียนเขียนโปรแกรมกันแล้ว จึงไม่ใช่เรื่องที่ซับซ้อนเกินไปสำหรับนิสิต นักศึกษา ครู หรือพนักงานในหน่วยงานต่าง ๆ ที่จะสร้างโฮมเพจไว้ให้ข้อมูลสารสนเทศแก่กลุ่มเป้าหมาย สังคม หรือเพิ่มช่องทางการติดต่อกับชุมชน นอกเหนือจาก แฟนเพจ กลุ่มไลน์ กลุ่มเฟส หรือโทรศัพท์เท่านั้น ซึ่งการทำโฮมเพจสามารถทำได้ง่าย มีขั้นตอนไม่ซับซ้อนเกินที่จะเรียนรู้ได้ หากเคยเรียนรู้ Facebook หรือ Line PC ได้ ก็ย่อมจะใช้งาน Wordpress.com สร้าง Content ได้เช่นกัน
เล่าเรื่องของตนเอง เพื่อน หรือกิจกรรม ที่กลั่นกรองจากประสบการณ์ ด้วยมุมมองเชิงสร้างสรรค์ คิดบวก แสดงถึงออกถึงความสุข ความรัก และความสัมพันธ์กับสรรพสิ่งรอบตัว ด้วยการนำเสนอที่เหมาะสม ในแหล่งเผยแพร่ที่เป็นสาธารณะ
หากจะทำภาพยนตร์สักเรื่องหนึ่ง จะต้องรวมกลุ่มและจำแนกบทบาทของผู้เกี่ยวข้อง ต้องกำหนดเรื่องราว ตัวแสดง สถานที่ เสียง อารมณ์ จุดไคลแม็ค เทคนิค เมื่อต้องการฉายภาพของเรื่องราว ก็มักใช้ Story board เป็นเครื่องมือเล่าเรื่อง
การถ่ายภาพ โดยเลือกสถานที่ แสง ชุด หนังสือ และองค์ประกอบทั้งหมด มาผสมผสานกันอย่างลงตัว เมื่อทำบ่อยครั้งจะทำให้การถ่ายภาพแต่ละครั้ง สามารถนำไปใช้บอกเล่าเรื่องราวได้อย่างมีความสุข เช่น ความรักในการอ่านหนังสือ ใน #สังคมคนรักอ่าน
โควิด-19 ทำให้โลกไม่เหมือนเดิม มีธุรกิจที่สามารถ ฟื้นตัวได้เร็ว หลังเกิดโรคระบาด อาทิ 1) ขนส่งสินค้า 2) สื่อสาร 3) คลังสินค้า 4) ไปรษณีย์ 5) ผลิต 6) สุขภาพ 7) ค้าปลีกสมัยใหม่ 8) ผลิตอุปกรณ์ 9) ผลิตชิ้นส่วน 10) ประกันสุขภาพ 11) การศึกษาออนไลน์ ประเด็นชวนเรียนรู้ผ่านหมวก 6 ใบ .pdf เป็น .doc กับ StepPlus Training คลิ๊ปหลักการบริหารจัดการ Role play : ธุรกิจที่ฟื้นตัวเร็ว น้องมิ้ว รัญชิดา ขายครีม กับ ยายแอ๋วขายเสื้อ น็อตตัวละแสน 🚘 ถ้ามีน็อตไว้กับตัว จะดี
ที่ เว็บไซต์ thaiall.com ได้เพิ่ม กล่องรับความคิดเห็น (คลิ๊ก : short url) เข้า template รุ่น 7.3 อยู่มุมล่างขวาสุดของเว็บเพจ ใช้บริการของ google form โดยใช้บัญชี @gmail.com ทำให้มีฟอร์มเปิดรับข้อเสนอแนะ แบ่งเป็น หัวเรื่อง กับ รายละเอียด ให้เพื่อน (Peer) ได้เข้าไปแสดงความคิดเห็น หรือต้องการให้ข้อเสนอแนะต่อเว็บไซต์ เมื่อถึงเวลาอันควรก็จะใช้อีเมล @gmail.com เปิดเข้าไปใน Google doc, Form หรือ Sheets เข้าไปเปิด "การตอบกลับ" พบข้อเสนอแนะ ที่เรียงตาม วัน เวลาในระดับวินาที ใน Form สามารถตั้งได้ว่า "รับการแจ้งเตือนทางอีเมลเมื่อมีคำตอบใหม่" ในแต่ละ Form สามารถเลือก "ผู้ทำงานร่วมกัน" เพิ่ม @hotmail.com หรือ @nation.ac.th ก็ทำให้ผู้ที่ได้รับเชิญ เข้ามาดูการตอบกลับได้ ทำให้การจัดการกล่องรับข้อเสนอแนะ ดำเนินการร่วมกันได้ ไม่ใช่ทำงานคนเดียว ด้วยอีเมลเดียวเท่านั้น เมื่อเพื่อน @hotmail.com ได้รับจดหมายเชิญเข้าไปทำงานร่วมกันใน "ฟอร์ม" ก็กดปุ่มใน inbox ชื่อ "เปิดในฟอร์ม" เมื่อเปิดแล้วก็สามารถแสดงความคิดเห็น เหมือนคนทั่วไป แต่ถ้าต้องการเข้าแก้ไข หรือดู การตอบกลับ ก็คลิ๊กปุ่ม "REQUEST EDIT ACCESS" ที่อยู่มุมบนขวาได้
จงสร้างแฟ้มเอกสาร แล้วแนบภาพอุปกรณ์ไอทีที่น่าสนใจ จำนวน 3 ภาพ (image) แล้วเขียนคำอธิบายภาพ ๆ ละ 2 บรรทัด โดยทำงานนี้บน smart phone ด้วยแอพ เช่น Google เอกสาร, Microsoft word, Polaris office, หรือ WPS office แล้วบันทึกเป็น [sid].docx จากนั้นส่งเข้ากลุ่มเฟสบุ๊ค ด้วยการ Add File โดยกำหนดการแสดงผลของ browser เป็นแบบ desktop view เพื่อให้มี interface แบบที่ใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ จึงจะเพิ่มแฟ้มเอกสารได้
Contemplation = ไตร่ตรอง เมื่อ 17 ส.ค.63 (wiriyah eduzones) ได้อ่านเรื่องเล่าที่ชวนให้ไตร่ตรอง ว่า เตือนศิษย์จากอาจารย์มหาวิทยาลัยท่านหนึ่ง ด้วย วาทะของ Nelson Mandela การทำให้ชาติหนึ่งล่มจมไม่จำเป็นต้องใช้ระเบิดปรมาณู หรือขีปนาวุธพิสัยไกลหรอก เพียงแค่ลดคุณภาพการศึกษา และปล่อยให้มีการโกงของนักเรียน นักศึกษา ในการสอบ ก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้เกิดผลผลิตทางการศึกษาเช่นนี้
ก่อให้เกิด 1) คนไข้ตายที่ไม่ควรตาย ก็มาตายในมือหมอ 2) ตึกถล่มจากผลงานวิศวกร 3) เงินสูญหายด้วยฝีมือนักบัญชี 4) มนุษยธรรมสิ้นไปในมือนักวิชาการทางศาสนา 5) ความยุติธรรมวอดวายไปในมือผู้พิพากษา 6) เด็กถูกทำร้ายจากครูที่ไม่มีจิตวิญญาณ 7) ผู้บริหารที่ไร้คุณธรรม เต็มบ้านเมือง